ลาว

ข้อมูลทางการท่องเที่ยว
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือสปป.ลาว (The lao people's Democratic Republic หรือเรียกโดยย่อว่า Lao PDR)เป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยที่มีความใกล้ชิดกันมายาวนาน ทั้งด้านเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ฯลฯ

คำขวัญ : ("สันติภาพ เอกราช ประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร")

ธงชาติลาว : ธงชาติลาวในปัจจุบันเริ่มใช้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เป็นรูปสี่หลี่ยมผืนผ้ามี 3 แถบตามแนวนอน แถบด้านบนและด้านล่างสุดเป็นสีแดงแถบตรงกลางเป็นสีนํ้าเงิน มีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลางแถบสีนํ้าเงิน สีแดง หมายถึง สีเลือดแห่งการเสียสละ การพลีชีพเพื่อชาติ สีนํ้าเงิน หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ และความเจริญมั่งคั่ง สีขาว หมายถึง ดวงจันทร์ เปรียบเสมือนนํ้าใจของคนลาวที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
สัญลักษณ์หรือตราประเทศ : เป็นรูปวงกลมข้างล่างเป็นรูปเฟืองจักรกลหมายถึง การอุตสาหกรรมและแถบผ้าสีแดงที่บันทึกด้วยอักษรว่า"สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว"ปีกทั้งสองข้างประดับด้วยรวงข้าวผูกด้วยผ้าแถบสีแดง ตัวอักษรบันทึกว่า "สันติภาพ เอกราชประชาธิปไตย เอกภาพ วัฒนาถาวร" ตรงกลางระหว่างรวงข้าวทั้งสองเป็นรูปพระธาตุหลวง หมายถึง พุทธศาสนา ถนน หมายถึง การขนส่ง นาข้าวคือกสิกรรม ต้นไม้คือป่าไม้และเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นตัวแทนด้านพลังงาน

เงินตรา : เงินตราของสปป.ลาว เรียกว่า เงินกีบ ธนาคารแห่งสปป.ลาวเป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้มีธนบัตรใบละ 20,000, 10,000,5,000,2,000,1,000,500,100,50,20,10,5และ 1 กีบ ส่วนเหรียญมี 50 และ 10 อัด 1 กีบ= 100 อัด
อัตราแลกเปลี่ยนเงิน : 1 บาท=260 กีบ(2555) ภาษา : ภาษาทางราชการคือ ภาษาลาว สำหรับภาษาฝรั่งเศสยังคงมีใช้อยู่ทั่วไป แต่ไม่ถือว่าเป็นภาษาทางราชการ รัฐบาลได้ทำการฟื้นฟูภาษาลาว และตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงภาษาลาว ออกอากาศไปทั่วโลก ภาษาพูดประจำชาติลาว แม้จะสามารถพูดกันเข้าใจได้ทั่วประเทศ แต่สำเนียงการพูดแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค ทำให้รู้ได้ว่าผู้พูดเป็นคนภาคใด กล่าวคือ - คนลาวทางหลวงพระบาง มีสำเนียงพูดคล้ายคนไทยทางภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ - คนลาวตั้งแต่เวียงจันทน์จนถึงสีทันดอน มีสำเนียงพูดคล้ายคนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - สำหรับชาวเผ่าต่าง ๆ ใช้ภาษาของตนเอง ต่างไปจากภาษาลาว เช่น ภาษาแม้ว เย้า ย้อ อีก้อ
เป็นต้น จารีตประเพณี : วัฒนธรรมจารีต ที่มีการปฎิบัติสืบต่อกันมา เรียกว่า ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ฮีตยี่คองเจียว ฮีตไภ้คองเชย ฮีตผัวคองเมีย นอกจากบุญประเพณีสิบสองเดือน ที่ปรากฎในฮีตสิบสองแล้ว ชาวลาวยังมีการทำบุญอื่น ซึ่งนับว่าเป็นประเพณีของลาว คู่กับฮีตสิบสองคือ ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีบุญกองบวชกองหด ประเพณีแต่งงาน (แต่งดอง) ประเพณีบายสีสู่ขวัญ ประเพณีบุญสู่วัวสู่ขวัญควาย ประเพณีวันกรรม (ออกลูก) ประเพณีวันเฮือนดี (ศพคนตาย) ประเพณีผิดผี ประเพณีข่วง (บ่าวสาวลงข่วง) ประเพณีเต้าข่วง (เลี้ยงผี) ประเพณีแฮกนาขวัญ ประเพณีเลี้ยงผีปู่ผีตา ประเพณีเลี้ยงผาตาแฮก และเลี้ยงผีปู่ตา
การสื่อสาร

โทรศัพท์ : โทรศัพท์สาธารณะเป็นระบบใช้บัตรไม่ว่าจะโทรในประเทศและต่างประ เทศ บัตรโทรศัพท์มีจำหน่ายที่ที่ทำการไปรษณีย์ ชุมสายโทรศัพท์ และร้านค้าบางแห่ง การโทรทางไกลระหว่างประเทศหมุน 00+รหัสประเทศ+รหัสเมือง+หมายเลขที่ต้องการ (รหัสประเทศไทยคือ 66) กรณีต้องการโทรศัพท์จากไทยไปสปป.ลาว ต้องหมุนเบอร์โทรศัพท์ระหว่างประเทศคือ 001 ตามด้วยรหัสประเทศสปป.ลาวคือ 856 ตามด้วยรหัสเมือง แล้วจึงเป็นหมายเลขที่ต้องการ อินเทอร์เน็ต : สปป.ลาวมีร้านอินเทอร์เน็ตให้บริการตามหัวเมืองใหญ่ ใช้เครือข่ายของบริษัทอเมริกันและโกลบเน็ต ไปรษณีย์ : ไปรษณย์ลาวมีสัญลักษณ์คือตึกทาสีเหลืองอมเขียว มีสาขาให้บริการตามหัวเมืองเอกทุกแห่ง ค่าบริการไม่แพงและเชื่อถือได้ในเวียงจันทน์มีบริการของ DHL โทร.21-216 830 และ UPS โทร. 21-313 351

ภูมิประเทศ : สปป.ลาวเป็นประเทศเขตร้อน ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างเส้นละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 100-108 องศา มีพื้นที่ทั้งหมด 236,800 ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วยประเทศต่างๆคือ ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ติดกับสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ลาวไม่มีทางออกทะเล พื้นที่ 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศเป็นภูเขาหินปูนและที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่ทางตอนบน โดยมีระดับสูงถึง 2,820 เมตรที่จังหวัดเชียงขวาง ทางตอนกลางและใต้ซีกตะวันออกเป็นที่ราบสูงที่ค่อยๆลาดลงสู่ที่ราบลุ่มริมแม่นํ้า ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณนี้เนื่องจากความเหมาะสมในการทำกิจกรรม สปป.ลาวมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ และแม่นํ้าลำคลองมากมาย แม่นํ้าสายสำคัญและมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวลาวคือแม่นํ้าโขงที่ไหล ผ่านจากเหนือจดใต้เป็นระยะทางยาวกว่า 1,900 กิโลเมตร

ภูมิอากาศ : ประเทศลาวมี3 ฤดู ได้แก่ ฤดูฝน ราวเดือนพฤษภาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน อากาศร้อน เหนอะหนะและ อบอ้าว มีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย 25-30 องศาเซลเซียล ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนไปถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์อากาศค่อนข้างแห้งแล้ง อุณหภูมิเย็นประมาณ 10-15 องศาเซลเซียล เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว ฤดูร้อน อากาศร้อนและแห้งแล้ง เริ่มจากปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิจะสูงถึง 38 องศาเซลเซียล ในช่วงเดือนเมษายน (อุณหภูมิเฉลี่ย 29-30 องศาเซลเซียล)

ประชากร : ลาวเป็นแผ่นดินที่มีชนหลายเชื้อชาติมากกว่า 40 เผ่า แต่ละเผ่ามีวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย และความคิดความเชื่อแตกต่างกันไป ปัจจุบันประชากรลาวมีประมาณ 5.7 ล้านคน

ศาสนา : ประชาชนลาวประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาพุทธลัทธิเถรวาท ชาวพุทธลาวนับถือและปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ชายลาวเกือบทุกคนเมื่ออายุครบ 20 ปี จะเข้าบวชเป็นพระระยะหนึ่ง เพื่อตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ก่อนที่จะแต่งงาน นอกจากนี้การบวชจูงศพพ่อแม่หรือญาติพี่น้องที่เสียชีวิต ส่วนการนับถือศาสนาอื่นๆ ได้แก่ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื้อ คริสต์ และอิสลาม

เศรษฐกิจ : ลาวเป็น 1 ใน 10 ของประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก รายได้ประชาชาติต่อคนไม่ถึง 400 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี(ประมาณ 17,000 บาท) ประชากรกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม ประมง และหาของป่า มีเพียง 10 เปอร์เซนต์ที่มีอาชีพรับราชการทหารและพลเรือนส่วนการทำงานในภาคอุตสาหกรรมนั้นแทบจะไม่มีเลย ลาวต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากต่างชาติผ่านทางองค์กรต่างๆเช่น องค์การสหประชาชาติกองทุนเอดีบี และธนาคารโลก เป็นต้น

การเมืองการปกครอง : สปป.ลาวปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม มีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวคือพรรคประชาชนปฏิวัติลาว มีประธานพรรคเป็นประมุขของประเทศ ตำแหน่งเรียกว่า ประธานประเทศ ส่วนนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร ทั้ง 2 ตำแหน่งได้รับแต่งตั้งจากสภาแห่งชาติ (เดิมคือสภาประชาชนสูงสุด เปรียบได้กับสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่นิติบัญญัติและเป็นผู้ควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ

ศุลกากร : นักท่องเที่ยวนำเงินกีบลาวและเงินสกุลอื่นๆเข้าสปป.ลาวได้โดยไม่จำกัดจำนวน สุราไม่เกิน 1 ลิตร บุหรี่ 500 มวน
สิ่งที่ต้องแสดง ได้แก่ กล้องถ่ายรูปและเครื่องมือสื่อสารต่างๆสิ่งของต้องห้ามนำเข้าประเทศ ได้แก่ ยาเสพติด อาวุธ และสื่อลามกอนาจารทั้งหลาย
สิ่งของต้องห้ามนำออกนอกประเทศ ได้แก่ วัตถุโบราณ และพระพุทธรูป ยกเว้นที่ได้รับอนุญาตและผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้วว่าไม่ได้เป็นสมบัติลํ้าของชาติ

ไฟฟ้า : 220 โวลต์ วงจรกระแสสลับ ปลั๊กไฟฟ้าแบบขาแบนและขากลม 2 ขา ชนบทบางแห่งมีไฟฟ้าใช้เฉพาะช่วงเวลา และบางแห่งยังไม่มีไฟฟ้าใช้ นํ้าประปา : ใช้สำหรับการชำระและซักล้างเท่านั้น ไม่ปลอดภัยที่จะนำมาบริโภค หากจำเป็นต้องต้มให้เดือดเสียก่อน

เวลา : เวลามาตรฐานของสปป.ลาวเร็วกว่ามาตรฐานกรีนิช 7 ชั่งโมงเท่ากับประเทศไทยชั่วโมงทำงาน หน่วยงานราชการตั้งแต่จันทร์ถึงศุกร์ เวลา 08.00-11.30น. พักกลางวันเริ่มงานช่วงบ่าย เวลา 14.00-16.00น. ร้านค้าทั่วไปก็เช่นเดียวกัน ปิดพักกลางวันทุกวัน วันเสาร์เปิดเพียงครึ่งวัน ธุรกิจทุกอย่างปิดในวันอาทิตย์ ธนาคารเปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-16.00น.

ความปลอดภัย : ด้วยระบอบการปกครองที่เคร่งครัด ประกอบกับการยึดมั่นในขนบธรรมเนียมวิถีชาวพุทธ คนลาวส่วนใหญ่มีจิตใจโอบอ้อมอารีและเป็นมิตรกับชาวต่างชาติไม่ปรากฏเหตุการณ์ทำร้ายนักท่องเที่ยวอย่างรุนแรงมีแต่การลักเล็กขโมยน้อย หรือฉวยโอกาสโกงราคาสินค้าและบริการนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปเอง หากต้องการความสะดวกควรใช้บริการไกด์ท้องถิ่น สามารถติดต่อได้ตามสนามบิน สถานีขนส่ง และท่าเรือท่องเที่ยวแทบทุกแห่ง
สิ่งที่นักท่องเที่ยวพึงรำลึกถึงเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ใด : ควรอ่านป้ายประกาศต่างๆเสียก่อน และอย่าละเมิดข้อห้าม เจ้าหน้าที่ลาวพร้อมปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขัน ชาวลาวมีขนบธรรมเนียมเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาและประเพณีท้องถิ่นเช่นเดียวกับไทย อาทิการแต่งกายไปวัดต้องเรียบร้อย ไม่นุ่งสั้น ไม่สวมเสื้อที่เห็นเนินอก หรือสายเดี่ยวไม่ใส่รองเท้าเข้าไปในโบสถ์ ถือศรีษะเป็นของสูง มือขวาสำคัญกว่ามือซ้ายไม่เข้าบ้านผู้อื่นก่อนได้รับการเชื้อเชิญ และต้องถอดรองเท้าก่อนเข้าบ้านเสมอ เวลาไปเที่ยวหมู่บ้านชนท้องถิ่นยิ่งต้องระวัง พยายามสอบถามกฏระเบียบประเพณีเสียก่อน แต่ละแห่งจะแตกต่างกันไป

ที่พัก-โรงแรม : ตามเมืองท่องเที่ยวสำคัญ เช่น นครเวียงจันทน์ หลวงพระบาง ปากเซ มีโรงแรมทันสมัยพร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบครัน บางแห่งเป็นตึกสร้างใหม่ แต่หลายแห่งดัดแปลงจากวังหรือบ้านคหบดีเก่า ตามหัวเมืองใหญ่ ที่พักอยู่ในระดับสามดาว สะดวกสบายพอใช้สภาพคล้ายห้องพักปรับอากาศตามโรงแรมในต่างจังหวัดของไทย เกสต์เฮาส์หรือที่ลาวเรียกว่า เฮือนพัก มีทั้งแบบบ้านเดี่ยวและเรือนแถวมักจะอยู่รวมกันเป็นย่าน ที่พักแบบนี้ส่วนใหญ่ราคาจะต่างกันเพราะเรื่องห้องนํ้า
วัฒนธรรมและลักษณะประจำชาติ : มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทน รักอิสระ เสรี รักหมู่คณะ ไม่ชอบการเบียดเบียนข่มเหง เป็นชาติที่รักสงบ มีความเคารพนับถือในบรรพบุรุษ นับถืออาวุโสทางอายุเป็นเกณฑ์สำคัญ มีอิสระในการเลือกคู่ครองและมักจะศึกษาจิตใจกันก่อน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ เช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไป
การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมเกล้าผม นุ่งผ้าซิ่น และมีสไบเฉียงพาดไหล่ ผู้ชายแต่งกายเช่นเดียวกับคนไทยในภาคอีสาน ส่วนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นิยมแต่งกายตามประเพณีของเผ่า
ที่อยู่อาศัย บ้านเป็นหลังคาทรงแหลมชะลูด ยกพื้น สร้างด้วยไม้
อาหารการกิน อาหารหลักคือข้าวเหนียวและลาบ เช่นเดียวกับชาวอีสานของไทย
การดนตรี เครื่องดนตรีประจำภาคคือ แคน และการแสดงคือ หมอลำแคน ส่วนการฟ้อนรำและดนตรีส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากไทย

ช้อปปิ้งลาว : สินค้าน่าซื้อของลาว ที่ขึ้นชื่อคือผ้าทอ ทั้งผ้าฝ้ายและผ้าไหม ฝีมือละเอียด ลวดลายงดงามแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ผ้าปักเย็บมือของกลุ่มชาวเขาเผ่าต่างๆ เครื่องเงินเครื่องทอง เครื่องจักสาน งานแกะสลักไม้ตลอดจนกาแฟลาว เบียร์ลาว และเหล้าพื้นเมืองก็น่าซื้อไม่น้อย นอกจากนี้มีสินค้าจากต่างประเทศ เช่น แก้วคริสตัลจากเชโกสโลวะเกีย รองเท้า เสื้อผ้าและหัตถกรรมจากเวียดนาม อาหารแห้ง ผลไม้ และเครื่องใช้จากจีน ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ราคาไม่แพง แหล่งช้อปปิ้งที่สำคัญคือตลาดเช้าในนครเวียงจันทน์ ตลาดดาลา ตลาดมังและศูนย์รวมสินค้าหัตถกรรมบ้านผานมที่หลวงพระบาง การซื้อของในลาวต้องต่อรองราคาและควรสอบถามราคาจากหลายร้านก่อนการตัดสินใจซื้อ
สถานที่ท่องเที่ยว

นครหลวงเวียงจันทน์ : เป็นเมืองหลวงของประเทศลาว ก่อนหน้านี้เรียกว่า"กำแพงนครเวียงจันทน์" นครหลวงเวียงจันทน์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่
พระธาตุหลวง เป็นพระธาตุใหญ่และสวยงามที่สุดในสปป.ลาว สร้างโดยช่างโบราณลาว มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมของลาว ล้านช้าง ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประดิษฐานอยู่ ส่วนองค์พระธาตุหลวงเหลืองอร่ามดุจทองที่ปรากฏด้านหลังอนุสาวรีย์นั้น เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในแต่ละปีจะมีงานนมัสการพระธาตุหลวงที่ยิ่งใหญ่ในคืนเพ็ญเดือน 12 ถือเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติ วัดองตื้อ สร้างขึ้นสมัยคริสตศตวรรษที่ 16(ค.ศ.) ภายหลังที่เจ้าไชยเชษฐาธิราชสร้างเมืองเเวียงจันทน์ 6 ปี สันนิษฐานว่าสร้างครอบวังเก่าในสมัยขอม แต่ก่อนเรียก "วัดไชยะพูม"เมื่อมีพระพุทธรูปองตื้อมาประดิษฐานที่นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "วัดองตื้อ" วัดสีสะเกด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2361(ค.ศ.1818)ตามคำสั่งของเจ้าอนุวงศ์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังหลวงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวัดที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ในนครหลวงเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกทำลายจากสงคราม ลักษณะพิเศษของวัดนี้อยู่ที่ความอลังการของพระพุทธรูป 6,840 องค์ ที่ฝังอยู่ตามช่องกำแพง ประตูชัย เป็นอนุสรณ์สถานและเป็นสัญลักษณ์ของนครหลวงเวียงจันทน์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ตั้งอยู่บนถนนล้านช้าง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นบันไดไปบนอนุสาวรีย์เพื่อชมทิวทัศน์ของตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ได้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น วัดสีเมือง ตลาดเช้า พิพิธภัณฑ์ไกสอนพมวิหาร เขื่อนนํ้างึม

หลวงพระบาง : ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 420 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางและเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในช่วงศตวรรษที่ 13-16 รุ่งเรืองด้วยวัดวาอารามที่งามวิจิตร บ้านช่องได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบโคโลเนียล(Colonail) ของฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้หลวงพระบางจึงได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1995 มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดเชียงของ พระธาตุจอมพูสี วัดวิซุน วัดแสนสุขาราม หอพิพิธภัณฑ์ พระราชวังเก่าหลวงพระบาง ถํ้าติ่ง นํ้าตกตาดกวางสี

จำปาสัก : แขวงจำปาสัก เป็นหนึ่งในจำนวนศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจภาคใต้ของลาว ในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมาเคยเป็นแขวงที่ลือชื่อในสมัยขอมโบราณ และเป็นดินแดนแห่งอาณาจักรล้านช้างที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ปราสาทหินวัดพู (แหล่งมรดกโลก) นํ้าตกคอนพะเพ็ง นํ้าตกหลี่ผี

เชียงขวาง : แขวงเชียงขวางตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ ทุ่งไหหิน อยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีไหน้อยใหญ่ที่สร้างจากหินจำนวนมากกระจายไปทั่วเขตภูเพียง เชียงขวาง โดยไหหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสูงถึง 3.25 เมตร ปากกว้าง 3 เมตร

สะหวันนะเขต : แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงที่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรม มีโบราณสถานที่เก่าแก่ บรรจุศิลปะลวดลายแบบขอม ซึ่เชื่อกันว่าสร้างในศตวรรษที่ 11 ได้แก่ หอเทวาลัย บ้านเฮือนหิน เมืองสองคอน และธาตุกู่บ้านนาคู เมืองจำพอน และที่เด่นไปกว่านั้น คือ พระธาตุฮิงฮัง วัดหนองลำจัน วัดบ้านชะคืนใต้ วัดท่าโสน วัดไชยะพูม และวัดจำพอน

วังเวียง : เมืองวังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ สปป.ลาวตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือ 150 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาตั้งเรียงรายตามลำนํ้าซอง สามารถล่องเรือชมธรรมชาติและยังมีถํ้าต่างๆ ให้ชมอีกมากมาย อาทิ ถํ้าจัง ถํ้าปูคำถํ้านอนฯลฯ เมืองวังเวียงจึงเป็นสถานที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง

พงสาลี : ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจีน เวียดนาม เป็นแหล่งรวมของชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ไทดำไทแดง เย้า ไทลือ ขมุ ฯลฯ ซึ่งแต่ละเผ่ามีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย งานหัตถกรรม เครื่องเงินและอัญมณี ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจของพงสาลีจึงอยู่ที่ความแตกต่างของแต่ละชนเผ่าซึ่งเป็นประชากรหลักของที่นี่

หลวงนํ้าทา : มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน ที่เลื่องชื่อก็คือป่าสงวนแห่งชาตินํ้าฮ้า (Nam Ha)อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้โดยมี NBCA-National Biodiversity Conservation Area ทำหน้าที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าเขตร้อนครอบคลุมถึง 99% ของพื้นที่ทั้งหมด สัตว์ป่าที่มีมากในเขตนี้ก็คือ หมาป่า เสือ เสือดาว หมี ชะนีและพันธุ์นกขนาดใหญ่ เป็นต้น

อุดมไชย : ที่นี่คือแหล่งรวมชนเผ่ากลุ่มเล็กกลุ่มน้อยถึง 23 เผ่า เช่น ม้ง อีก้อ ขมุ การเดินทางมาเที่ยวอุดมไชย นักท่องเที่ยวจะได้พบกับการต้อนรับด้วยประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมที่แต่ละเผ่ารักษาไว้มานานกว่า 2,000 ปี และนี่เองที่เป็นสีสันของการมาแขวงอุดมไชย บ่อแก้ว : "บ่อแก้ว " หมายถึง ดินแดนแห่งเมืองบ่อพลอย อัญมณี หรือที่ชาวลาวเรียกว่า "แก้วประเสริฐ" เหตุเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ่อแก้วอุดมด้วยแร่ธาตุสำคัญไม่ว่าจะเป็น ทอง แร่อัญมณีต่าง ๆ อันเป็นแหล่งสร้างรายได้แก่รัฐและชาวเมืองบ่อแก้วมาจนบัดนี้
ไม่มีรายการสินค้าในหมวดหมู่ที่เลือก.