อินเดีย

ที่ตั้ง : ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้ ทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาลและภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกติดบังกลาเทศ

พื้นที่ : 3,287,590 ตารางกิโลเมตร (ใหญ่กว่าไทยประมาณ 6 เท่า)

ประชากร : ประมาณ1,000ล้านคน เชื้อชาติอินโด-อารยัน ร้อยละ72 ดราวิเดียน ร้อยละ25 มองโกลอยด์ ร้อยละ2 และอื่นๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 1.8(ค.ศ. 1999)

ภาษา : ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการ โดยมีภาษาอังกฤษเป็นภาษารอง อีกทั้งรัฐธรรมนูญอินเดียยังรับรองภาษาท้องถิ่น อีก 16 ภาษาที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง อาทิ เตลูกู เบงกาลี มาราธี ทมิฬ อูรดู กุจราดี และปัญจาบี

ศาสนา : นับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 81.3 มุสลิมร้อยละ 12 คริสต์ ร้อยละ 2.3 ซิกข์ร้อยละ 1.9 อื่นๆ (พุทธ เชนและนาซิ)ร้อยละ 2.5

เมืองหลวง : กรุงนิวเดลี (New Delhi)

สกุลเงิน : รูปี อัตราแลกเปลี่ยน1เหรียญสหรัฐ เท่ากับ46 รูปี

วันสำคัญ : วันชาติ (Republic Day) วันที่ 26 มกราคม วันเอกราช (Independence Day) วันที่ 15 สิงหาคม

โครงสร้างการปกครอง :
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha)หรือสภาสูง มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) หรือสภาผู้แทนราษฎรมีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา ฝ่ายบริหาร - คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers)มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
ฝ่ายตุลาการ - ศาลฎีกา (Supreme Court)เป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพาก ษาประจำศาลฎีกา มีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีระดับรัฐ มีศาลสูง (High Court) เป็นศาล
สูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็น Subordinate Courts ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจการปกครองแบ่งแยกออกเป็นรัฐต่างๆ 25 รัฐ และสหภาพอาณาเขตของรัฐบาลกลาง (Union Territories)อีก 7 เขต ขณะนี้(มกราคม 2544)โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐ-บัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตตีสครห์ (Chattisgarh)รัฐอุตตะรันจัล (Uttaranchal)และรัฐฉรขันท์ (Jharkhand)ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ อุตตระประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ
ไม่มีรายการสินค้าในหมวดหมู่ที่เลือก.